1. กลัวสังคมไม่ยอมรับ = ติดอยู่ในสนามแข่งหนู
คำพูดที่ถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นที่บอกว่า ให้ตั้งใจเรียน เข้ามหาวิทยาลัยดัง ๆ ให้ได้ จบมาจะได้ทำงานในบริษัทดี ๆ พอเกษียณจะได้ใช้เงินบำนาญสุขสบาย
ชุดความคิดนี้จะพาเราเข้าสู่วงจรหนูถีบจักร ซึ่งหนูที่วิ่งนั้นไม่ไปข้างหน้าเสียที เทียบกับคนก็เหมือนวงจรการทำงานที่แสนจำเจ เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่บริษัท, เจ้านาย หรือรัฐบาล จริง ๆ แล้ววงจรนี้เราทุกคนเกลียด แต่ที่ยังยอมทนอยู่เพราะกลัวสังคมไม่ยอมรับ กลัวพ่อแม่ผิดหวัง
สุดท้ายเราอาจหนีความยากจนได้ แต่ไม่เข้าใกล้กับความร่ำรวยเลย
2. ความโลภทำให้ตัดสินใจเรื่องเงินอย่างไร้เหตุผล
ความโลภจะเกิดขึ้นตอนที่เรามีเงินเพิ่มขึ้น เช่น ได้ขึ้นเงินเดือนเราก็อยากปรับไลฟ์สไตล์ให้ดีขึ้น อยากได้บ้าน อยากได้รถ อยากไปเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งความโลภอยากได้อยากมีที่เพิ่มขึ้น อาจก่อเกิดหนี้ ขัดขวางไม่ให้เรามั่งคั่งในระยะยาว

3. ก่อนจะรวยต้องเข้าใจสภาพการเงินของตัวเอง
ขั้นแรก วิเคราะห์สถานการณ์การเงินของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา งานปัจจุบันสร้างรายได้แค่ไหน หักรายจ่ายแล้วเหลือเงินเท่าไหร่ จากนั้นตั้งเป้าหมายทางการเงินที่พอเป็นไปได้ เช่น จะเก็บเงินให้ได้ 5 ล้านบาท ภายใน 5 ปี
ต่อไปก็ลงทุนในตัวเองโดยการหาความรู้ทางการเงิน ศึกษาเรื่องตลาดหุ้น, กองทุน หรืออสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
4. อยากรวยต้องกล้าเสี่ยง
เราจะทำสิ่งเดิมซ้ำ ๆ แล้วหวังผลลัพธ์ที่แตกต่างไปจากเดิมไม่ได้ ถ้าวันนี้เรายังฝากออมทรัพย์ไว้ที่ธนาคารแล้วหวังจะรวยจากดอกเบี้ยคงไม่ได้ คนที่ประสบความสำเร็จด้านการเงินล้วนกล้าเผชิญหน้ากับความเสี่ยง
แต่ความเสี่ยงไม่ได้น่ากลัว เราสามารถลดความเสี่ยงให้น้อยลงได้โดยใช้ความรู้ ก่อนจะลงทุนในอะไรต้องศึกษาให้ดีก่อน เช่น จะซื้อหุ้นต้องรู้ว่าหุ้นตัวนั้นทำเงินจากกิจการอะไร แนวโน้มเป็นยังไง ปัจจัยใดบ้างที่สามารถทำให้กิจการนั้นแย่ลงได้
5. ความเกียจคร้าน+อีโก้ ฉุดกูรูการเงินตกต่ำมาหลายคนแล้ว
เราคิดว่าความเกียจคร้านคือการนั่ง ๆ นอน ๆ อยู่เฉย ๆ แต่มันยังหมายถึงการไม่ทำในสิ่งที่ควรทำอีกด้วย เช่น นักธุรกิจคนหนึ่งทำงานวันละ 16 ชั่วโมงจนห่างเหินกับครอบครัว เขาเห็นเค้าลางของปัญหาทางบ้าน แต่ละเลยไม่รีบแก้ไข จนสุดท้ายต้องหย่าร้าง แบบนี้ก็เรียกว่าความเกียจคร้านในการแก้ปัญหา
อีโก้ คือการไม่ยอมรับว่าไม่รู้ในสิ่งที่ตนเองไม่รู้ แล้วยังดันทุรังลงทุนกับสิ่งที่ไม่รู้ แบบนี้เตรียมรับมือกับหายนะทางการเงินได้เลย
6. ลงทุนในสินทรัพย์ ไม่ใช่หนี้สิน
สินทรัพย์ คือสิ่งที่ผลิตเงินให้คุณ เช่น ธุรกิจ, หุ้น, พันธบัตร, กองทุนรวม, อสังหาริมทรัพย์ให้เช่า หรือลิขสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น
หนี้สิน คือสิ่งที่สร้างให้เกิดรายจ่าย ทำให้คุณต้องควักเงินออกจากกระเป๋า ซึ่งหนี้สินก็คือของฟุ่มเฟือยซะส่วนใหญ่

7. อาชีพทำให้ไม่อดตาย แต่ธุรกิจทำให้มั่งคั่ง
อาชีพ คือสิ่งที่คุณทำวันละ 8 ชั่วโมง เพื่อให้ได้เงินเดือนมาจ่ายบิล
ธุรกิจ คือสิ่งที่คุณทุ่มเวลาและเงินเพื่อทำให้สินทรัพย์ของคุณเติบโต
ตัวอย่าง เชฟทำงานร้านอาหาร มีรายได้เลี้ยงดูตัวเองและครอบครัว แต่เขาไม่ได้ร่ำรวย จนวันหนึ่งตัดสินใจลาออกมาเปิดร้านอาหารเอง พอกิจการดีขึ้นก็ขยายสาขา จ้างคนเก่ง ๆ มาทำงานแทน จนกลายเป็นมหาเศรษฐีในที่สุด
8. รู้ภาษีจะได้เสียน้อยลง
หน้าที่ของประชาชนคือต้องเสียภาษี แต่ขณะเดียวกันภาษีก็ลดความมั่งคั่งของเราได้ ปกติพนักงานบริษัทจะจ่ายภาษีจากจำนวนเงินเดือนที่ได้รับ เหลือเท่าไหร่ถึงจะได้เอามาใช้ วิธีลดหย่อนภาษีวิธีหนึ่งคือ ลงทุนในนามนิติบุคคล เพราะรายได้ที่คุณสร้างขึ้นในนามนิติบุคคลจะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ แล้วค่อยเอามาเสียภาษีจากเงินที่เหลือ
ยังมีวิธีลดหย่อนภาษีอีกหลายวิธี หากเราศึกษาให้ดีสามารถประหยัดเงินได้อย่างมาก
สนใจหนังสือ พ่อรวยสอนลูก
สามารถสั่งซื้อได้ที่ Shopee: https://s.shopee.co.th/1Vi6RxfxEq
ซื้อผ่านลิงค์เป็นการสนับสนุนช่องครับ
Leave a comment